PSD

ผลการดำเนินงานประจำปี 2565 PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 08 มีนาคม 2023 เวลา 18:11 น.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านยางพารา

(Center of excellence of Natural Rubber)

วัตถุประสงค์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

  • พื่อกำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทาง และระยะเวลา การวิจัยเฉพาะทางด้านยางพารา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • เพื่อประสานงานในการสร้างความเข้มแข็ง และเสริมสร้างศักยภาพด้านการศึกษา การวิจัย และพัฒนา และบริการวิชาการยางพารา ในด้านต่าง ๆ

  • เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านยางพาราอย่างครบวงจร

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

Products

  • โครงการ “การวิจัยและพัฒนาการดำรงสภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก : กรณีศึกษาของระบบสายพานรถถังขนาดเบา 32 คอมมานโด สติงเรย์ และรถสายพานลำเลียงพลแบบ เอ็ม 113”

Natural_Rubber1
  • โครงการ “โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก : กรณีศึกษาของระบบสายพานรถถังหลักที่ใช้ในกองทัพบก” รถถังหลักรุ่น T-84 OPLOT-M

Natural_Rubber2
  • โครงการ “การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก : กรณีศึกษาของระบบสายพานรถถังหลักรุ่น M48A5 และรุ่น M60A1/A3”

Natural_Rubber3
  • กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ อนุมัติการขยายระยะเวลาโครงการวิจัยด้านยางพาราจาก “การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยางพารา” ไปสู่โครงการ “การสร้างความยั่งยืนของครอบครัวเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 – 30 มิถุนายน 2568

โครงการวิจัยที่ดำเนินการ

โครงการที่รับทุนวิจัยจากภายนอก
  • โครงการ “ผลของปุ๋ยเคมี (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม) ต่อพลวัตของธาตุอาหารในดิน ไนตรัสออกไซด์และสมดุลคาร์บอนในดินหัวหน้าโครงการ : ดร.ระวิวรรณ โชติพันธ์ แหล่งทุน : การยางแห่งประเทศไทย งบประมาณ 1,930,500 บาท

  • โครงการ การวิจัย Sub-grant Agreement between CIRAD and DORAS (KU) in the framework of the YARA - CIRAD- Project on the Fertilization of Rubber Plantations Phase 3 (May 2020 APRIL 2023)” แหล่งทุน : สถาบันวิจัย CIRAD งบประมาณ 3,000 ยูโร ระยะเวลาดำเนินการ พ.2563 เม.. 2566

  • โครงการ การวิจัยระบบการกรีดยางพาราแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไม่ได้รับทุนวิจัย ระยะเวลาดำเนินการ 1 .. 2564 – 30 เม.. 2565

  • โครงการ “ไม้เชิงวิศวกรรมจากไม้ยางพารา” หัวหน้าโครงการ : รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ และ น.ส.วรารัตน์ หาคำ แหล่งทุน : การยางแห่งประเทศไทย งบประมาณ 746,570 บาท

  • โครงการ “การวิจัยและพัฒนาการดำรงสภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก : กรณีศึกษาของระบบปืนใหญ่ขนาด 105 มิลลิเมตร ของรถถังขนาดเบา 32 คอมมานโด สติงเรย์” หัวหน้าโครงการ : รศ.ชัชพล ชังชู และ ผศ.ดร. ศุภสิทธิ์ รอดขวัญ (ที่ปรึกษา) แหล่งทุน : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา งบประมาณ 2,483,030 บาท

  • โครงการ “การวิจัยและพัฒนาการดำรงสภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก : กรณีศึกษาของระบบสายพานรถถังขนาดเบา 32 คอมมานโด สติงเรย์ และรถสายพานลำเลียงพลแบบ เอ็ม 113”

  • โครงการ “การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก : กรณีศึกษาของระบบสายพานรถถังหลักที่ใช้ในกองทัพบก”

  • โครงการ “การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพชิ้นส่วนซ่อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก : กรณีศึกษาของระบบสายพานรถถังหลักรุ่น M48A5 และรุ่น M60A1/A3

  • โครงการFertilization effects on atmospheric methane uptake by a rubber tree plantation in Thailand” ปีงบประมาณ 2565 (ไม่ทราบจำนวนงบประมาณ เป็นส่วนย่อยของงาน)

โครงการบริการวิชาการ (มีส่วนเงินโครงการเข้าศูนย์ฯ ยางพารา)
  • โครงการวางสายการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลื่อยไม้ บริษัท กัมพล พาราวู้ด (2003) จำกัด งบโครงการ 114,000 บาท

  • โครงการพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของเตาอบไม้แบบอัตโนมัติโดยใช้ระบบ MCU บริษัท กัมพล พาราวู้ด (2003) จำกัด งบโครงการ 202,000 บาท

  • โครงการการพัฒนากระบวนการและเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าเศษไม้เบญพรรณ หจก.168 พันธ์ศักดิ์กรุ๊ป งบโครงการ 104,000 บาท

  • โครงการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์จากตอไม้ยางพารา บจก.เทรด แมททีเรียล 2014 งบโครงการ 85,000 บาท

  • โครงการพัฒนาสายการผลิตไม้ฟิงเกอร์จ๊อยส์ บริษัท สยามเคียววะเซซาคูโช จำกัด งบโครงการ 144,000 บาท

  • โครงการเตรียมความพร้อมจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ตามมาตฐาน FSC (Chain of Custody FSC: FSC CoC ) บริษัท อี.จี.จี.เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด งบโครงการ 264,500 บา

การจัดประชุมวิชาการ/ร่วมจัดนิทรรศการ/การจัดฝึกอบรม/การบริการวิชาการ
  • Prof. Dr. Daniel EPRON จาก University of Lorraine และ Visiting Professor ณ Kyoto University เดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านงานวิจัยกับหน่วยงานวิจัยจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ เรื่อง “Fertilization effects on atmospheric methane uptake by a rubber tree plantation in Thailand: A direct microbial inhibition or an indirect stimulation by higher tree water use?” และเยี่ยมชมแปลงปลูกยางพารา ณ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 20 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

Natural_Rubber4
  • ให้ความรู้และข้อมูล ในเรื่องการจัดการสวนยางพารา ระบบกรีดยาง การผลิตแผ่นยาง และการเก็บข้อมูลงานวิจัย รวมทั้งทำการเก็บข้อมูลงาน Biomass ในแปลงยางพารา เมื่อวันที่ 24 เมษายน ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Natural_Rubber5
  • ร่วมจัดนิทรรศการ เรื่อง การศึกษาระบบกรีดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา ในงาน การประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ในหัวข้อ ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 19 – 24 กันยายน พ.ศ. 2565

Natural_Rubber6
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม The 10th Scientific Annual Seminar เรื่อง “Opportunity and Critical Issues in the Natural Rubber Commodity Chain ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เมื่อวันที่ 9 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Natural_Rubber7
  • รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ เป็นผู้บรรยายงานประชุม The 10th Scientific Annual Seminar ในหัวข้อ เรื่อง “Rubber wood Utilization in Thailand” ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่   9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Natural_Rubber8
  • การเดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของ Dr. Jean-Marc Bonnefond ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน เพื่อร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับงานวิจัย และติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดและบันทึกข้อมูลวิจัยบน Rubber flux tower ณ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 13 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565
Natural_Rubber9
  • การเดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของ Dr. Eric GOHET นักวิจัยสถาบัน CIRAD สาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 25 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยมีภารกิจ ดังนี้

(1) เพื่อนำเสนอ Feasibility Study Report ของโครงการ FORSEA (Forecasting impacts of climate change and workforce availability on natural Rubber commodity chain in South East Asia) แก่หน่วยงานร่วมในประเทศไทย อันได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(2) เพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการของ การยางแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(3) เพื่อหารือเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่เป็นไปได้ในโครงการของหน่วยงานร่วมวิจัยอื่น ๆ ภายใต้เครือข่ายวิชาการยางพารา (HRPP) อาทิเช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันได้แก่ บริษัทเอกชนต่างๆ

Natural_Rubber10

  • การประชุมรายงานความคืบหน้าโครงการคณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมต่อสู้กับวิกฤตไวรัส โคโรน่า (COVID-19) ครั้งที่ 2 โครงการ "การสร้างห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกต้นแบบ เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อทางอากาศและโรคอุบัติใหม่ สู่บุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตามมาตรฐาน ASHRAE 170-2017" วันที่ 23 ธันวาคม 2564 ณ อาคารพัชรกิติยาภา กองกุมารแพทย์ ห้องประชุมชั้น 9 โรงพยาบาลมงกุฎเกล้า พร้อมทั้งส่งมอบห้องตรวจผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางอากาศและโรคอุบัติใหม่ ณ กองกุมารเวช รพ.พระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565

  • การประชุมสัมมนาการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา กองทัพบก ประจำปี 2565 เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาการทางทหารเพื่อมุ่งสู่ New S-Curve ที่ 11 (อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ)" ณ โรงแรม ซัมมิท ไพน์เฮิร์สท คลับ แอนด์    โฮเทล ปทุมธานี เมื่อวันที่ 8 -10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Natural_Rubber11
  • การประชุมปรึกษาหารือ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาด้านยางพารา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Natural_Rubber12

Center of excellence of Natural Rubber

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 08 มีนาคม 2023 เวลา 18:44 น.
 
ศูนย์ที่น่าสนใจ
 

You are here: Home ศูนย์วิชาการสู่ความเป็นเลิศ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านยางพารา ผลการดำเนินงานประจำปี 2565