PSD

ผลการดำเนินงานประจำปี 2565 PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 08 มีนาคม 2023 เวลา 14:54 น.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 (Center of Excellence in Silk Kasetsart University)

วัตถุประสงค์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

  • เพื่อสนับสนุนและพัฒนากลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านไหม รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ ให้สามารถดำเนินงานวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาการของไหมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหมอย่างต่อเนื่อง

  • ผลิตบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญสูง ตั้งแต่ระดับปริญญาโท เอก และหลังปริญญาเอก ด้านไหมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

  • เป็นศูนย์รวมข้อมูลองค์ความรู้ด้านไหมในเชิงบูรณาการ ที่สามารถเผยแพร่และให้บริการแก่ชุมชนและสังคม ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมของไหมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

  • สร้างผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และสร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมไหมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศสู่ระดับนานาชาติ

  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านไหมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

Products

  • การย้อมสีธรรมชาติเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นด้ายและสิ่งทอจากใยไหมอีรี่

Silk1
  • การแปรรูปดักแด้ไหมอีรี่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน

Silk2

สนับสนุนการดำเนินงานวิจัยด้านไหม

  • โครงการวิจัยการพัฒนาและจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อสนับสนุนการผลิตรังไหมสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอและอาหารหัวหน้าโครงการ : ดร.วราวุฒิ ศุภมิตรมงคล แหล่งทุน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปีงบประมาณ 2563

  • โครงการวิจัยการเลี้ยงไหมอีรี่ตามมาตรฐาน KU Standard และการสร้างรายได้จากการเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.รุ่งทิพย์ มาศเมธาทิพย์ แหล่งทุน : ทุนอุดหนุนวิจัยจากเงินรายได้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2565

การจัดประชุมวิชาการ/ร่วมจัดนิทรรศการ/การจัดฝึกอบรม/บริการวิชาการ
  • จัดอบรมเรื่อง “แนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่” ผ่านช่องทางออนไลน์ Cisco Webex แก่กรมหม่อนไหม และ เกษตรกร จังหวัดเชียงราย โดยมีการบรรยายเกี่ยวกับ กระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการเลี้ยงไหมอีรี่ : GAP (Good Agricultural Practices) เพื่อให้ได้มาตรฐานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ คู่มือมาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Silk3
  • กรรมการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ร่วมมือกับ โครงการวิจัยย่อย 1 “ การพัฒนาและจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อสนับสนุนการผลิต รังไหมสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอและอาหาร” ในชุดโครงการวิจัย “การจัดการแปรรูปและห่วงโซ่อุปทานรังไหมอีรี่เพื่อยกระดับมาตรฐาน SMEs สำหรับอุตสาหกรรม สิ่งทอและอาหาร” เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Silk4
  • บริษัทบูลโปรตีน ได้เข้าเยี่ยมชมและรับคำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงหนอนไหมอีรีเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนของอาหารสัตว์ และรับไข่ไหม 0.5 กรัมเพื่อไปเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

  • คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านซันเสร่ จังหวัดชลบุรี จำนวน 26 ราย เข้าเยี่ยมชมเพื่อศึกษาดูงานเรียนรู้นอกห้องเรียนถึงวิธีการเลี้ยงและวงจรชีวิตของไหมอีรี่ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Silk5
  • ศ.เกียรติคุณ ดร.ทิพย์วดี อรรถธรรม และผศ.ดร.อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์ ที่ปรึกษาศูนย์ฯ ร่วมการประชุมคณะกรรมการวิชาการพิจารณามาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีในการผลิตรังไหมอีรี่ ผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่  28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Silk6
  • เผยแพร่องค์ความรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่ และการเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อให้ได้มาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) และองค์ความรู้ในการแปรรูปรังไหมอีรี่เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไหมอีรี่จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่ลาว และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์บ้านครู (ครูอิ๋ว ครูเชียว) อำเภอเชียงของ เมื่อวันที่ 28 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Silk7
  • ผศ.ดร.รุ่งทิพย์ มาศเมธาทิพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ได้ให้ความรู้ด้านการเลี้ยงไหมหม่อนและไหมอีรี่ แสดงผลิตภัณฑ์จาการนำเส้นไหมมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมอาหารเสริมโปรตีนแปรรูปจากดักแด้ไหมอีรี่ และสาธิตการสาวไหมให้แก่นักเรียนโครงการ วมว. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ เรือนปฏิบัติการทดลอง ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

Silk8
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่ และการเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อให้ได้มาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) หมายเลข 001/2564 ตามข้อบังคับสำหรับกระบวนการผลิต รังไหมอีรี่ (GAP) และการแปรรูปดักแด้ไหมอีรี่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน โดยเน้นกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำพริกจากดักแด้ เช่น น้ำพริกข่า น้ำพริกป่า เป็นต้น และการนำผงโปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่ที่ผ่านกระบวนการไฮโดรไลเซตมาผสมกับแป้งเค้กโดนัทจากข้าวหอมมะลิรสช็อกโกแลต

· เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไหมอีรี่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

Silk9

· เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ณ กลุ่ม Sunflower organic farm อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ร่วมกับกลุ่มผลิตภัณฑ์บ้านครู (บ้านครูอิ๋ว-ครูเชี่ยว)

Silk10

  • ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ได้ให้ความอนุเคราะห์ไข่ไหมอีรี่ ได้ทำการสอนวิธีการเลี้ยงไหมอีรีและให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาระหว่างการทำโครงงานผ่านทางออนไลน์ให้กับกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ในโครงงาน อิทธิพลของรูปแบบรังที่ส่งผลต่อการสร้างเส้นใยของหนอนไหมอีรี่ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 17 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Silk11
  • งานวิเทศ ประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ กองบริหารทั่วไป สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน นำคณะนิสิตและอาจารย์จำนวน 34 คน ที่เข้าร่วมโครงการ AAACU 2022 Summer Enrishment Course Sustainable Agriculture to SDGs เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงไหมหม่อนและไหมอีรี ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Silk12
  • สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการฝึกอบรมความรู้แนวทางการปฏิบัติที่ดีการผลิตรังไหมอีรี่ ตามมาตรฐาน KU Standard ณ ห้องเอนกประสงค์ คณะเกษตร กำแพงแสน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการตรวจประเมินให้กับเกษตรกรผู้สนใจขอรับการรับรองมาตรฐาน KU Standard หมายเลข 001/2564 ข้อบังคับสำหรับกระบวนการ   ผลิตรังไหมอีรี่ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Silk13
  • ผศ.ดร.รุ่งทิพย์ มาศเมธาทิพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชการด้านไหม ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายและสาธิตการสาวไหม ในโครงการหนอนไหม ครั้งที่ 18 จัดโดยชมรมรักษ์ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565

Silk14
  • ให้บริการองค์ความรู้และวัตถุดิบที่เกี่ยวกับไหมอีรี่

· ให้บริการไข่ไหมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 186 กรัม
· ให้บริการรังไหมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมจำนวนรวมทั้งสิ้น 500 กรัม
· ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ จ.อุดรธานี ขอความอนุเคราะห์ไข่ไหม 145 กรัม
· ให้บริการไข่ไหมแก่วิทยาลัยชุมชนสระแก้วรวมทั้งสิ้น 80 กรัม
· มอบหนอนไหมพันธุ์นางลายจำนวน 200 และ 100 ตัว ให้กับคุณพันทิพา พวงสุวรรณ ประธานชมรมรักษ์โรงเรียน เพื่อจัดโครงการหนอนไหมครั้งที่ 18 ให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (บางเขน)
· มอบไข่ไหมอีรี จำนวน 20 กรัม ให้กับคุณสัมฤทธิ์ วิจิตรจันทร์ เกษตรกรกลุ่มทอผ้าบ้านพนาสวรรค์ เลขที่ 200 ม. 8 ต.แม่เปิน อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์
· มอบไข่ไหมอีรี จำนวน 1 กรัม ให้กับเด็กชายเจนนิพัทธ์ เจือบุญ นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 59/16 ซ.ประชาอุทิศ มบ.ประกายทองวิลล์ ม.2 ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
· มอบไข่ไหมอีรี จำนวน 20 กรัม ให้กับคุณนิสาห์รัช ล้ำเลิศ เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนไหมอีรี่เชียงราย (ฮักอีรี) 209 ม.8 ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย
· มอบไข่ไหมอีรี จำนวน 2 กรัม ให้คุณอริศรา พลศรีเมือง เกษตรกรศูนย์เรียนรู้เชิงวิชาชีพบ้านครู(บ้านครูอิ๋ว-ครูเชี่ยว) 314 บ้านตอง ม.9 (ซอย 3) ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
· มอบไข่ไหมอีรี จำนวน 2 กรัม ให้นางสาวเจนจิตร ศรีชาติ 242 ม.3 ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
· มอบรังไหมอีรีจำนวน 1 กิโลกรัม ให้กับคุณรังสิมา ชลคุป เพื่อใช้ในการอบรมการลอกกาวไหมให้กับกลุ่ม Sunflower organic farm อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
· มอบหนอนไหมอีรี่ 30 ตัว และดักแด้ไหมอีรี่ 10 ตัว ตัวอย่างเส้น
· ใยไหมอีรี่ที่ปั่นมือและเครื่องจักร และผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอไหมอีรี่ ให้กับ ผศ.ดร.อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์ เพื่อใช้ในการสอน รายวิชา 01004333 การผลิตแมลงเพื่อการค้า Commercial Insect Production
· มอบหนอนไหมอีรี วัย 3 และวัย 5 จำนวนวัยละ 70 ตัว ให้กับ ผศ.ดร.มณฑาทิพย์ คงมี อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์เพื่อใช้ในการทดลองภาคปฏิบัติการ รายวิชา 01004581 พิษวิทยาของสารฆ่าแมลง ภาคต้น ปีการศึกษา 2565
· มอบไข่ไหมจำนวน 120 กรัม ให้กับ คุณแดนชัย แก้วต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์หมอนไหมเฉลิมพระเกียรติฯตาก เพื่อใช้เลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์
· มอบหนอนไหมอีรีและดักแด้ อย่างล่ะ 50 ตัว ไข่ไหมอีรี และรังไหม พร้อมด้วยตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใยไหมอีรี ได้แก่ กระเป๋าสตรี ผ้าพันคอ ที่ใส่ทิชชู ปกหนังสือ กระเป๋าและซองใส่เอกสารให้กับรศ.ดร.นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมบรรยายด้านวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ “กีฏวิทยา” ณ โรงเรียนชลประทานวิทยา
· มอบรังไหมอีรีจำนวน 10 กิโลกรัม ให้กับนางสาวณฐกร จินดา นิสิตปริญญาโท ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เพื่อทำวิทยานิพนธ์ เรื่องการผลิตแผ่นเส้นใยจากเศษรังไหม

· มอบไข่หนอนไหมพันธุ์นางลายให้กับโรงเรียนบ้านหนองขาม เพื่อนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ PBL ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ในหน่วยการเรียนรู้เรื่องหนอนไหมให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่

ปัญหา/อุปสรรค

  • ขาดงบประมาณในการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม

  • ขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านไหม

  • เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมมีจำนวนน้อย

  • คนรุ่นใหม่ไม่นิยมอาชีพการเลี้ยงไหมและการทอผ้า

  • ยังไม่สามารถสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในการตลาดได้

Center of Excellence in Silk
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 08 มีนาคม 2023 เวลา 15:34 น.
 
ศูนย์ที่น่าสนใจ
 

You are here: Home ศูนย์วิชาการสู่ความเป็นเลิศ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ผลการดำเนินงานประจำปี 2565