PSD

ผลการดำเนินงาน รอบ 6 เดือนแรก ประจำปี 2565 PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันศุกร์ที่ 29 กรกฏาคม 2022 เวลา 21:07 น.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม (Center of Excellence in Silk)

วัตถุประสงค์ปี 2565

pngtree_1 เพื่อสนับสนุนและพัฒนากลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านไหม รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ ให้สามารถดำเนินงานวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาการของไหมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหมอย่างต่อเนื่อง
pngtree_1 เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญสูง ตั้งแต่ระดับปริญญาโท เอก และหลังปริญญาเอก ด้านไหมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
pngtree_1 เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลองค์ความรู้ด้านไหมในเชิงบูรณาการ ที่สามารถเผยแพร่และให้บริการแก่ชุมชนและสังคม ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมของไหมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
pngtree_1 เพื่อสร้างผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และสร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมไหมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศสู่ระดับนานาชาติ
pngtree_1 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านไหมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565)

โครงการวิจัย : สนับสนุนสถานที่และอุปกรณ์การดำเนินงานวิจัยด้านไหม

pngtree_4 โครงการวิจัย “การพัฒนาและจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อสนับสนุนการผลิตรังไหมสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอและอาหาร” แหล่งทุน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปีงบประมาณ 2563  หัวหน้าโครงการ : ดร.วราวุฒิ ศุภมิตรมงคล
pngtree_4 โครงการวิจัยการพัฒนาอาหารเทียมไหมปลอดยาปฏิชีวนะสำหรับผลิตดักแด้เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร” แหล่งทุน :  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ปีงบประมาณ 2563หัวหน้าโครงการ : รองศาสตราจารย์ ดร.ราตรี วงศ์ปัญญา

การจัดประชุมวิชาการ/ร่วมจัดนิทรรศการ/การจัดฝึกอบรม/กิจกรรมการให้บริการ :

pngtree_2 กิจกรรมให้บริการความรู้แก่ชุมชนและสังคม

pngtree_6 จัดอบรมเรื่อง “แนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่” ผ่านช่องทางออนไลน์ Cisco Webex แก่กรมหม่อนไหม และเกษตรกร จังหวัดเชียงราย โดยมีการบรรยายเกี่ยวกับ กระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการเลี้ยงไหมอีรี่ : GAP (Good Agricultural Practices) เพื่อให้ได้มาตรฐานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ คู่มือมาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564

SILK_1

pngtree_6 กรรมการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ร่วมมือกับ โครงการวิจัยย่อย 1 “ การพัฒนาและจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อสนับสนุนการผลิต รังไหมสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอและอาหาร” ในชุดโครงการวิจัย  “การจัดการแปรรูปและห่วงโซ่อุปทานรังไหมอีรี่เพื่อยกระดับมาตรฐาน SMEs สำหรับอุตสาหกรรม สิ่งทอและอาหาร” เดินทางลงพื้นที่ติดตามงานการเลี้ยงไหมอีรี่ วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว และเกษตรกร จังหวัดสระแก้ว เพื่อร่วมตรวจประเมิน มาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) หมายเลข 001/2564 ซึ่งทางศูนย์ไหมได้มีการแนะนำแนวทางเพื่อปรับปรุงการเลี้ยงและการจัดการไหมอีรี่ให้แก่ผู้เลี้ยงไหม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564

pngtree_6 บริษัทบูลโปรตีน ได้เข้าเยี่ยมชมและรับคำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงหนอนไหมอีรีเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนของอาหารสัตว์ และรับไข่ไหม 0.5 กรัมเพื่อไปเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

pngtree_6 คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านซันเสร่ จังหวัดชลบุรี จำนวน 26 ราย เข้าเยี่ยมชมเพื่อศึกษาดูงานเรียนรู้นอกห้องเรียนถึงวิธีการเลี้ยงและวงจรชีวิตของไหมอีรี่ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

SILK_2

pngtree_2 กิจกรรมการดำเนินงานเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านไหมระหว่างมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
pngtree_6 ศ.เกียรติคุณ ดร.ทิพย์วดี อรรถธรรม และผศ.ดร.อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์ ที่ปรึกษาศูนย์ฯ พร้อมด้วย ผศ.ดร.รุ่งทิพย์ มาศเมธาทิพย์ ประธานกรรมการศูนย์ฯ และ ดร.รังสิมา ชลคุป กรรมการศูนย์ฯ ร่วมการประชุมคณะกรรมการวิชาการพิจารณามาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีในการผลิตรังไหมอีรี่ ผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
SILK_3

pngtree_2 กิจกรรมการให้บริการและการบริหารจัดการวัตถุดิบไหมอีรี่

pngtree_6 ให้บริการไข่ไหมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 186 กรัม
pngtree_6 ให้บริการหนอนไหมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมจำนวนรวมทั้งสิ้น 500 ตัว
pngtree_6 ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ จ.อุดรธานี ขอความอนุเคราะห์ไข่ไหม 145 กรัม
pngtree_6 ให้บริการไข่ไหมแก่วิทยาลัยชุมชนสระแก้วรวมทั้งสิ้น 80 กรัม

ปัญหาและอุปสรรค :

pngtree_3 ขาดงบประมาณในการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ปัจจุบันศูนย์ฯไหมไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ทางศูนย์ฯไหม จึงได้เสนอโครงการวิจัย ในปี 2563 จากสำนักงานส่งเสริมการวิจัย (สกสว.) ซึ่งอยู่ในระหว่างการรออนุมัติโครงการ ซึ่งในการรักษาสายพันธุ์ไหม รวมถึงการดูแลพืชอาหารของไหมจำเป็นต้องมีงบประมาณที่เพียงพอ และต่อเนื่อง

pngtree_3 ขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านไหม ที่จะสร้างองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญ เช่น การปรับปรุงพันธุ์ไหมให้มีคุณภาพดีขึ้น การส่งเสริมการเลี้ยงไหมและแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการเลี้ยงไหมและการสร้างผลิตภัณฑ์ และขาดบุคลากรผู้ที่สนใจศึกษาต่อยอดหาองค์ความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากไหมที่หลากหลาย

pngtree_3 เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมมีจำนวนน้อย ไม่สามารถผลิตวัตถุดิบ คือ รังไหมให้เพียงพอเพื่อใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาดได้ อีกทั้งการขยายตัวของตลาดเฉพาะทาง (niche market) ทางด้านผลิตภัณฑ์จากไหมยังค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด

pngtree_3 คนรุ่นใหม่ไม่นิยมอาชีพการเลี้ยงไหมและการทอผ้า ทำให้ขาดผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ดูได้จากการที่ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน เปิดรับสมัครตำแหน่งอาจารย์ คุณวุฒิปริญญาเอกที่มีความสนใจหรือประสบการณ์ทำงานด้านไหมมาเป็นเวลานานแต่ยังขาดผู้สมัคร มีนิสิตทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตวิทยาลัยที่สนใจศึกษาทำงานวิจัยด้านไหมมีน้อย ในชนบทมีแต่ผู้สูงอายุที่ยังคงเลี้ยงไหมและทอผ้า ส่วนคนวัยทำงานเลือกที่จะไปทำงานอื่น ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการละถิ่นฐานและเกิดความห่างเหินทางสัมพันธภาพในครอบครัวตามมา

pngtree_3 ยังไม่สามารถสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในการตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับซื้อรังไหมอีรี่ ทำให้เป็นปัญหาสำหรับผู้ต้องการเลี้ยงไหมอีรี่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรายได้เสริมให้ครอบครัว

ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหมในปัจจุบันและอนาคต :

pngtree_5 ดำเนินงานให้สอดคล้องกับงบประมาณที่จะได้รับการจัดสรร ขอความร่วมมือให้คณะกรรมการสร้างเครือข่ายร่วมกันสร้างงานวิจัยด้านไหม

pngtree_5 ส่งเสริมโครงการวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากไหมที่หลากหลาย ส่งเสริมงานวิจัยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากไหม มุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์สีเขียวที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม (green product) ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากของตลาดในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา สร้างจุดเด่นของงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และขยายตลาดเฉพาะทาง (niche market) สำหรับสิ่งทอจากธรรมชาติให้สามารถแข่งขันในตลาดได้

pngtree_5 ส่งเสริมโครงการวิจัยเรื่องการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไหมและการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ไหมที่ดี ผลิตรังไหมที่มีคุณภาพและเลี้ยงได้ปริมาณมาก เพื่อการส่งเสริมและเผยแพร่ให้กับเกษตรกรไทย และเป็นแหล่งพันธุกรรมไว้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งการอนุรักษ์สายพันธุ์ไหมให้ตรงตามพันธุ์ และสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ต้องมีงบประมาณเพียงพอในการเก็บรักษาสายพันธุ์เนื่องจากเป็นงานที่ทำอย่างต่อเนื่อง

pngtree_5 ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านไหมที่ได้จากงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ให้แก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจเรื่องการเลี้ยงไหม อันเป็นพันธกิจหนึ่งของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตไหมของประเทศและเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากไหม

pngtree_5 ส่งเสริมให้แก่อนุชนคนรุ่นใหม่ให้มีใจรักในการเลี้ยงไหม และสนใจในการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามด้านการเลี้ยงไหมและการทอผ้า เช่น การจัดการประชุม การจัดนิทรรศการ การจัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากไหม การจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่ดึงดูดความสนใจให้กลุ่มคนรุ่นใหม่มีส่วนร่วม เพื่อซึมซับความรู้และสร้างความสนใจด้านไหมเพิ่มขึ้น

pngtree_5 ร่วมมือกับภาควิชาต่างๆ ในการจัดกิจกรรม นิทรรศการเกี่ยวข้องกับด้านไหมให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 01 สิงหาคม 2022 เวลา 09:49 น.
 
ศูนย์ที่น่าสนใจ
 

You are here: Home ศูนย์วิชาการสู่ความเป็นเลิศ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ผลการดำเนินงาน รอบ 6 เดือนแรก ประจำปี 2565