PSD

ผลการดำเนินงานประจำปี 2564 PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2022 เวลา 12:46 น.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอ้อย (Center of Excellence in Sugarcane) 

วัตถุประสงค์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

  1. เพื่อประสานงานในการสร้างความเข้มแข็ง และเสริมสร้างศักยภาพด้านการศึกษา การวิจัย และพัฒนาตลอดจนบริการวิชาการด้านอ้อย  
  2. เพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์ ทิศทาง และแนวทางการวิจัยพัฒนาด้านอ้อย และผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประเทศ  
  3. เพื่อเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางด้านอ้อย  

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

Publication :

Proceeding ระดับชาติ

  • อธิฏฐาน เพไทย, ติยากร ฉัตรนภารัตน์, วรรณสิริ วรรณรัตน์ และสุพจน์ กาเซ็ม. 2563. ประสิทธิภาพของแบคทีเรียปฏิปักษ์ต่างสายพันธุ์ในการควบคุมโรคสำคัญและส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อยและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง.ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 2-3 ธันวาคม 2563, นครปฐม.

  • นฤมล สีกลัดหนู, เสาวนุช ถาวรพฤกษ์ และณัฐพล จิตมาตย์. 2563. ผลของการจัดการธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยที่ปลูกในดินหน่วยสมรรถนะความอุดมสมสบูรณ์ SLdkem จังหวัดสระแก้ว.ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 2-3 ธันวาคม 2563, นครปฐม. 

  • สิทธิโชค มณีวงษ์, กนกกร สินมา, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ขวัญชัย คูเจริญไพศาล และ อาณัติ เฮงเจริญ. 2563. ผลของการใช้ Gluconacetobacter sp. KS1 ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนต่อการสะสมธาตุอาหารพืชในต้นอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3.ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 2-3 ธันวาคม 2563, นครปฐม. 

  • ทินกร ปัทเมฆ, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, จุฑามาศ ร่มแก้ว, เกวลิน ศรีจันทร์, สิรินภา ช่วงโอภาส,อัญธิชา พรมเมืองคุก,สุชาดา กรุณา, ศิริสุดา บุตรเพชร, ชาลินี คงสุด, ธรรมธวัช แสงงาม และธรียุทธ คล้ำชื่น. ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้ของเครื่องกำจัดเศษขยะต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของอ้อย และสมบัติของดินบางประการ.ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 2-3 ธันวาคม 2563, นครปฐม.

วารสารระดับนานาชาติ, บทความ

  • Kulapa Kuldilok. 2021. “The determination of organic practice and adoption in sugarcane farmingin Thailand.” Kasetsart Journal of Social Sciences 42: 694–701.

  • Walaiphan Chuwongpanich, Kazumichi Fujii, Yoshiyuki Inagaki, Chie Hayakawa and Natthapol Chittamart. 2021. “Effects of sugarcane substrate inputs on microbial biomass and nitrogen availability in tropical sandy soils of northeast Thailand.” Soil Science and Plant Nutrition67 (2): 130-138.

  • Natcha Sornhirana, Jirapat Tuntrachanidaa, Prapapun Malacheya, Patchara Thongtuka, Worachart Wisawapipata,b,Surachet Aramraka and Nattaporn Prakongkep. 2021. “Aluminum- and iron-engineered biochar from sugarcane filter cake as phosphorus adsorbents and fertilizers.”Science Asia 47 (2021): 220-227.

  • Viradee Senapitakkul, Gawisara Vanitjinda, Selorm Torgbo, Phitsanu Pinmanee, Thidarat Nimchua, Prapassorn Rungthaworn, Udomlak Sukatta, and Prakit Sukyai. 2020. “Pretreatment of Cellulose from Sugarcane Bagasse with Xylanase for Improving Dyeability with Natural Dyes.” ACS Omega, 2020 5 (43), 28168-28177. DOI: 10.1021/acsomega.0c03837.

วารสารระดับชาติ และอื่นๆ

  • นงลักษณ์ เทียนเสรี, พิชชาทร ไมตรีมิตร,คัทลียา ฉัตร์เที่ยง, ปฏิวัติ สุขกุล, อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข และอนุรักษ์ อรัญญนาค. 2564. “ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการเจริญเติบโตและความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังของสายพันธุ์อ้อย.” วารสารแก่นเกษตร49(4): 915-927. 

  • พิชชาทร ไมตรีมิตร, นงลักษณ์ เทียนเสรี, คัทลียา ฉัตร์เที่ยง, ปฏิวัติ สุขกุล, อัมราวรรณ ทิพยวัฒน์ และอนุรักษ์ อรัญญนาค. 2564. “การตอบสนองของสายพันธุ์อ้อยในลักษณะใบต่อสภาวะน้ำท่วมขังในช่วงต้นของการเจริญเติบโต.” วารสารแก่นเกษตร49(4): 892-902. 

  • ณัฐดนัย จุลทรักษ์, เอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย, เกศวรา สิทธิโชค,     บุญลือ คะเชนทร์ชาติ และยุทธนา พันธุ์กลมศิลป์. 2564. “การศึกษารูปแบบการจัดการความชื้นในดินที่ยอมให้พร่องลงสำหรับกำหนดการให้น้ำแก่อ้อยโดยใช้แบบจำลอง DSSAT-CANEGRO.”วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10(1): 14-25. 

  • พิมพ์นารา เสือสกุล และเรวัติ เลิศฤทัยโยธิน. 2563. “การวิเคราะห์เสถียรภาพของอ้อยปลูกพันธุ์กำแพงแสน ชุดปี 2007 และ 2008 ด้วยวิธี GGB Biplot ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.”วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9(3): 35-59. 

  • อมรเทพ ใจเย็น และเรวัติ เลิศฤทัยโยธิน. 2563. “ศักยภาพของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนในลักษณะคุณภาพเมื่อเก็บเกี่ยวเร็วในอ้อยตอที่ 1.”วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9(3): 60-78. 

โครงการวิจัยที่ดำเนินการ :

  • ชุดโครงการ “แผนงานการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อย 
ผู้อำนวยการชุดโครงการ : ผศ.อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์
แหล่งทุน : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  • โครงการ “การใช้ยานบินไร้คนขับประเมินการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าไนโตรเจนในการผลิตอ้อย” 
หัวหน้าโครงการ : ผศ.อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์
แหล่งทุน : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  • แผนงาน “การศึกษาผลของเทคนิคการเพาะปลูกอ้อยที่เสนอต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย”
หัวหน้าแผน : รศ.ดร.ประเทือง อุษาบริสุทธิ์
แหล่งทุน : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ไถระเบิดดินดานแบบยกตัวได้โดยใช้แหนบสปริง

การจัดประชุมวิชาการ/ร่วมจัดนิทรรศการ/การจัดฝึกอบรม/อื่นๆ :

  •  ผศ.ดร.สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์ คณะกรรมการประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอ้อย ได้เข้าร่วมกิจกรรมพิธีมอบพันธุ์อ้อยสะอาดนำร่อง ณ อาคารวชิราณุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

  •  ผศ.ดร.ทิวา พาโคกทม ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอ้อย นำทีมคณะกรรมการประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอ้อย ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางงานวิจัยทางด้านอ้อย โดยได้เชิญนายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย (ดร.กิตติ ชุณหวงศ์) และ ผู้ประสานงานโครงการวิจัยด้านอ้อยและน้ำตาล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (วช.) (รศ.ดร.วิรัตน์ วาณิชย์ศรีรัตนา) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานวิจัยทางด้านอ้อยและน้ำตาลในปัจจุบัน โดยดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2022 เวลา 13:05 น.
 
ศูนย์ที่น่าสนใจ
 

You are here: Home ศูนย์วิชาการสู่ความเป็นเลิศ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอ้อย ผลการดำเนินงานประจำปี 2564