PSD

โครงการวิจัย งบประมาณ ปี 2553 PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอังคารที่ 19 เมษายน 2011 เวลา 11:10 น.

การพัฒนาและวิจัยด้านข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวไทย ภายใต้แผนร่วมยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยข้าวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โครงการวิจัยย่อยประกอบด้วย 3 โครงการย่อยดังนี้

โครงการวิจัยย่อยที่ 1 : การติดตามและเปรียบเทียบพันธุ์ข้าวหอม Jazzma, Jasmine และข้าวหอมพันธุ์อื่น ๆ เพื่อประเมินศัยกภาพเชิงการตลาดส่งออก

หัวหน้าโครงการวิจัย : รศ.ดร.อภิชาติ  วรรณวิจิตร

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้าวหอม Jazzman ของมหาวิทยาลัย Luisiana Ag Center
  2. เปรียบเทียบคุณสมบัติหุงต้ม ความหอม ศักยภาพของผลผลิต และการยอมรับของผู้บริโภค ระหว่างข้าวหอม Jazzman กับข้าวหอมพันธุ์อื่น ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ
  3. ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพปริมาณสารหอม ของข้าวหอมพื้นเมืองของไทย กับพันธุ์ข้าวหอมมาตราฐานเพื่อหาข้าวหอมพันธุ์ใหม่ที่มีปริมาณสารหอมมากกว่าเดิม 

โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : สภาวะการผลิตอาหารเช้าธัญชาติพร้อมบริโภคที่เหมาะสมจากกระบวนการเอกซ์ทรูชัน เสริมคุณประโยชน์ด้านสุขภาพด้วยรำข้าว

หัวหน้าโครงการวิจัย : นางจุฬาลักษณ์  จารุนุช

วัตถประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของกากรำข้าวที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมน้ำมันรำข้าวในผลิตภัณฑ์อาหารเช้าธัญชาติพร้อมบริโภค
  2. เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงสภาวะการผลิตในระบบเอกซ์ทรูซัน ที่มีต่อคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical properties) และคุณสมบัติเชิงหน้าที่ (Funcyional properties) ของผลิตภัณฑ์อาหารเช้าธัญชาติพร้อมบริโภคที่ใช้รำข้าวเป็นวัตถุดิ
  3. เพื่อคัดเลือกสภาวะการผลิตที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ต้นแบบอาหารเช้าธัญชาติสุขภาพจากรำข้าวโดยใช้เทคนิค Response Surface Methodology 

โครงการวิจัยย่อยที่ 3 : การพัฒนาโครงสร้างฐานความรู้ (ออนไทโลยี) เพื่อการอธิบายความหมายและจัดหมวดหมู่ของ คำสำคัญงานวิจัยข้าว

หัวหน้าโครงการวิจัย : ผศ.ดร.ธนิต  พุทธิพงศ์ศิริพร

 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อพัฒนาโครงสร้างฐานความรู้ (ออนโทโลยี) สำหรับการอธิบายความหมายและจัดหมวดหมู่ของคำสำคัญงานวิจัยข้าว
  2. เพื่อการจัดจำแนกข้อมูลงานวิจัยด้านข้าวอย่างเป็นระบบ เหมาะสมต่อการนำงานวิจัยที่มีอยู่ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดข้าว 3
  3. เพื่อสร้างเครื่องมือมาตราฐานสำหรับการวิเคราะห์ความก้าวหน้าของงานวิจัยแบบองค์รวมและใช้กำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทาง การวิจัยเฉพาะทางด้านข้าวของมหาวิทยาลัยอย่างครบวงจรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของศูนย์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ข้อมูลสารและปริมาณความหอมและความแตกต่างระหว่างข้าวหอมไทยและต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ
  2. โอกาสพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ของประเทศที่มีความหอมสูงขึ้น
  3. ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของผลิตภัณฑ์อาหารธัญชาติพร้อมบริโภค จากกระบวนการเอกซ์ทรูซันที่มีกากรำข้าวเป็นวัตถุดิบ และมีศักยภาพสู่การผลิตเชิงพาณิชย์
  4. องค์ความรู้ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาวะการผลิตในระบบเอกซ์ทรูซัน ที่มีต่อคุณสมบัติทางกายภาพ และคุณสมบัติเชิงสุขภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเช้าธัญชาติพร้อมบริโภคที่มีการใช้ปรธดยชน์จากกากรำข้าวเป็นวัตถุดิบ
  5. เทคโนโลยีออนโทโลยีสำหรับการจัดจำแนกข้อมูลงานวิจัยด้านข้าว เพื่อให้สามารถแบ่งกลุ่มและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างงานวิจัยที่ดำเนินการโดยฝ่ายปรับปรุงพันธุ์ข้าว ฝ่ายควบคุมคุณภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว ฝ่ายเศรษฐศาสตร์และการตลาดข้าวอันจะเอื้อต่อการดำเนินงานร่วมกัน ระหว่างทุกฝ่าย
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2011 เวลา 10:18 น.
 
ศูนย์ที่น่าสนใจ
 

You are here: Home ศูนย์วิชาการสู่ความเป็นเลิศ ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมข้าว โครงการวิจัย งบประมาณ ปี 2553