PSD

โครงการวิจัย งบประมาณ ปี 2554 PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 13:28 น.

โครงการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านข้าวโพด ประจำปีงบประมาณ 2554

โครงการวิจัย การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของพันธุ์ข้าวโพด Improvement and Value-Added of Corn Variety

โครงการที่ได้ดำเนินมาแล้ว ต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2553

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผศ.ดร.ชูศักดิ์  จอมพุก

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. พัฒนาพันธุ์ข้าวโพดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีศักยภาพในการให้ผลผลิตในระดับไร่เกษตรกร
    1. นำองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางด้านข้าวโพด ที่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความชำนาญ ถ่ายทอดสู่เกษตรกร และภาคเอกชน ทั้งในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมข้าวโพด
  2. ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านข้าวโพด
  3. จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยด้านข้าวโพด

ขอบขตและโครงการวิจัย

  1. พัฒนาพันธุ์ข้าวโพด

    พัฒนาพันธุข้าวโพดที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือ ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต กล่าวคือ ทริปโตเฟน และ ไลซีน ซึ่งปกติในข้าวโพดจะมีปริมาณกรดอะมิโนทั้งสองชนิดในปริมาณต่ำ แต่ถ้าใช้ยีน opaque-2 ซึ่งเป็นยีนที่ได้จากการกลายพันธุ์ จากข้าวโพดเหมือนกัน ผสมพันธุ์กับข้าวโพดที่ต้องการปรับปรุงพันธุ์ และถ้าประสบความสำเร็จก็จะทำให้ปริมาณทริปโตแฟน และไลซีนในข้าวโพดพันธุ์ใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้นกือบสองเท่าของข้าวโพดพันธุ์ปกติทั่วไป

    • พัฒนานธุข้าวโพดฝักสดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยอ่าศัยคุณสมบัติของพันธุ์ที่มี low phytic และเกี่ยวข้องกับสาร anthocyanin เช่น ข้าวโพดสีม่วง
    • การตรวจสอบระบบความเป็นหมันของข้าวโพดสายพันธุ์แท้ ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ถึงประสิทธิภาพการแก้ความเป็นหมัน และการสร้างสายพันธุ์เป็นหมันสายพันธุใหม่ ๆ โดยใช่แหล่งความเป็นหมันประเภท C-type  
  2. ทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ในห้องปฎิบัติการ
    •  
      • พันธุ์พืชที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ จะต้องมีการทดสอบปริมาณคุณค่าทางโภชนาการต่าง ๆ เช่น ปริมาณกรดอะมิโนทริปโตแฟน ไลซีน ปริมาณแป้งที่เป็นองค์ประกอบ เช่น อะมิโลเปกติน หรือสารสีต่าง ๆ เช่น anthocyanin เป็นต้น
    • ศึกษากลไกและความเสียหายจากการเสื่อมสภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานระหว่างการเก็บรักษา
  3. เพิ่มมูลค่าในระดับอุตสาหกรรม
    • ศึกษาและวิจัยถึงความเป็นไปได้ที่จะนำพันธุ์ข้าวโพดที่มีคุณลักษณะที่ดีทางโภชนา เช่น high antocyanin มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งแตกต่างจากการบริโภคโดยตรง (ใช้ประโยชน์โดยตรงจากการรับประทานข้าวโพดฝักสด)
  4. จัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยด้านข้าวโพด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สายพันธุ์ข้าวโพดที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวโพดที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
  2. เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนิสิตทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
  3. ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติได้
  4. นำผลงานวิจัยไปสู่เกษตรกร ในเรื่องการผลิต ส่วนในระดับอุตสาหกรรมน่าจะเป็นประโยชน์ได้ในระดับหนึ่ง

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 14:29 น.
 
ศูนย์ที่น่าสนใจ
 

You are here: Home ศูนย์วิชาการสู่ความเป็นเลิศ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านข้าวโพด โครงการวิจัย งบประมาณ ปี 2554