PSD

โครงการวิจัย งบประมาณ ปี 2554 PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 10:23 น.

โครงการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและอาหาร ประจำปีงบประมาณ 2554

โครงการ นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและอาหาร ภายใต้แผนร่วมยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (The Innovation in Agricultural and Food Machinery Corporategic Strategic Plan of Kasetsart University)

ประกอบด้วย 3 โครงการย่อยดังนี้

โครงการวิจัยย่อยที่ 1 : นวัตกรรมเครื่องจักรกลผลิตมะพร้าวอ่อนเพื่อการส่งออก

หัวหน้าโครงการวิจัย : ผศ.ดร.ศิวลักษณ์  ปฐวีรัตน์

วัตถุประสงค์ โครงการย่อยที่ 1 :

  • เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องปอกมะพร้าวอ่อนในรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
  • เพื่อสามารถใช้ปอกผลมะพร้าวอ่อนในรูปของมะพร้าวควั่นที่สามารถส่งออกได้

โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : การพัฒนาเครื่องผลิตข้าวเม่าเพื่อยกระดับภูมิปัญญาไทยในการแปรรูปข้าวเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอาหาร

หัวหน้าโครงการวิจัย : ผศ.ดร.เชาว์  อินทร์ประสิทธิ์

วัตถุประสงค์ โครงการย่อยที่ 2 :

  • เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการแปรรูปข้าวเม่าระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
  • เพื่อออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมในการแปรรูปข้าวเม่า จากภูมิปัญญาชาวบ้าน สู่มาตรฐานสากล

โครงการวิจัยย่ยอที่ 3 : โครงการบริหารจัดการเครื่องจักรกลขนาดเล็กในการผลิตข้าวโพดหวานฝักสด

หัวหน้าโครงการวิจัย : ดร.สุทธิพร  เนียมหอม

วัตถุประสงค์ โครงการย่อยที่ 3 :

  • เพื่อทำการผลิตข้าวโพดหวานฝักสดแบบเกษตรอินทรีย์
  • วางแผนการผลิตข้าวโพดหวานฝักสดให้ได้ผลผลิตสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

โครงการวิจัยต่อเนื่อง ระยะเวลา 1 ปี ปีนี้เป็นปีที่ 1

ผู้รับผิดชอบชุดของโครงการ

ผศ.ดร.ศิวลักษณ์  ปฐวีรัตน์

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อศึกษา ออกแบบ สร้าง นวัตกรรมเครื่องจักรกลผลิตมะพร้าวอ่อนเพื่อการส่งออก
  2. เพื่อศึกษา ออกแบบเครื่องมือ สภาวะที่เหมาะสมในการแปรรูปข้าวเม่าระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีคุณค่าทางอาหารสูงสู่มาตรฐานสากล
  3. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเครื่องจักรกลขนาดเล็กในการผลิตข้าวโพดหวานฝักสด

ขอบเขตของโครงการวิจัย

  1. ใช้ปอกผลมะพร้าวอ่อนในรูปของมะพร้าวควั่นที่สามารถส่งออก
  2. เครื่องขึ้นรูปข้าวเม่าแบบลูกกลิ้ง ใช้ในการผลิตข้าวเม่า และมีเครื่องแยกแกลบออกจากข้าวเม่า
  3. ผลิตข้าวโพดหวานฝักสดแบบเกษตรอินทรีย์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้นวัตกรรมเครื่องจักรกลผลิตมะพร้าวอ่อนเพื่อการสงออก ลดต้นทุนการผลิตมะพร้าวอ่อนเพื่อการส่งออก เพิ่มมูลค่าการส่งออกมะพร้าวอ่อน ทำให้มีรายได้จากการส่งออกมากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการสร้างเครื่องจักรปอกมะพร้าวอ่อนเป็นสินค้าใหม่เพื่อการส่งออก
  2. ลดการจ้างแรงงานชาวต่างประเทศในการปอกมะพร้าวอ่อน
  3. เครื่องจักรเพื่อการผลิต ข้าวเม่า ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4. เพื่อพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาไทยให้มีการยอมรับในระดับสากล
  5. สิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในการแปรรูป
  6. ได้การบริหารจัดการเครื่องจักรกลขนาดเล็กในการผลิตข้าวโพดหวานฝักสด

 

  

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 11:37 น.
 
ศูนย์ที่น่าสนใจ
 

You are here: Home ศูนย์วิชาการสู่ความเป็นเลิศ ศูนย์วิชาการด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและอาหาร โครงการวิจัย งบประมาณ ปี 2554